รู้หรือไม่ "ในมหาสมุทรก็มีทางด่วนเหมือนกัน"
"แอนนา" เป็นเต่าสีเขียวเพศเมีย ที่นักวิทยาศาสตร์จากกองทุนเวิลด์ไวลด์ไลฟ์ฟันด์ (WWF) และมหาวิทยาลัยอุเดย์ยานา ประเทศอินโดนีเซีย ติดตั้งเครื่องติดตามการเดินทางของมัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มาถึงเวลานี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า "แอนนา" ว่ายน้ำจากอินโดนีเซียไปยังแนวปะการังแถบตะวันตกของออสเตรเลีย บริเวณชายฝั่งคิมเบอร์ลี-พิลบารา ซึ่งเส้นทางการว่ายนี้แปลกแหวกแนว แสดงให้เห็นว่า ในทะเลก็มี "ทางด่วนในมหาสมุทร"
"แอนนา" เป็นเต่าสีเขียวเพศเมีย ที่นักวิทยาศาสตร์จากกองทุนเวิลด์ไวลด์ไลฟ์ฟันด์ (WWF) และมหาวิทยาลัยอุเดย์ยานา ประเทศอินโดนีเซีย ติดตั้งเครื่องติดตามการเดินทางของมัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มาถึงเวลานี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า "แอนนา" ว่ายน้ำจากอินโดนีเซียไปยังแนวปะการังแถบตะวันตกของออสเตรเลีย บริเวณชายฝั่งคิมเบอร์ลี-พิลบารา ซึ่งเส้นทางการว่ายนี้แปลกแหวกแนว แสดงให้เห็นว่า ในทะเลก็มี "ทางด่วนในมหาสมุทร"
นายกิลลี่ เลเวลลินน์ จากกองทุนเวิลด์ไวลด์ไลฟ์ฟันด์ กล่าวว่า "แอนนาว่ายน้ำผ่านสามเหลี่ยมปะการัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต พื้นที่แห่งนี้มีเต่าหลากหลายพันธุ์ นับเป็น 6 ใน 7 ของเต่าสายพันธุ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก"
เลเวลลินน์ กล่าวต่อไปอีกว่า "เต่าเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากปัญหาด้านมลพิษ การประมงที่จับเต่าขึ้นมาโดยบังเอิญ การลักลอบซื้อขายเต่าและไข่เต่า"
ดังนั้นการศึกษาเส้นทางการว่ายน้ำของแอนนาและเต่าตัวอื่นๆ จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาว่า พื้นที่ใดควรเป็นพื้นที่ที่นักอนุรักษ์ควรเข้าไปปกป้องคุ้มครองสัตว์และพืชในทะเล เพื่อให้พวกมันมีอายุยืนนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งนี้ "โครงการสามเปลี่ยมปะการัง" ของกองทุนเวิลด์ไวลด์ไลฟ์ฟันด์ มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสัตว์และพืชทะเลจากการกระทำของมนุษย์ ในแถบมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับพัฒนาเครือข่ายพื้นที่คุ้มครอง (MPAs) เพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่น การเฝ้าสังเกตการจับปลาของชาวประมงไม่ให้จับสัตว์ขึ้นมาในจำนวนที่มากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น