| |||
กฏหมายใหม่ดังกล่าวจะปรับใช้กับคู่ชาย-หญิงที่อยู่ด้วยกันแต่ยัง ม่ได้แต่งงานด้วย โดยจะบันทึกเป็นประวัติทางอาชญากรรม หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด่าทออีกฝ่ายระหว่างที่มีปากมีเสียงกันในบ้าน โดยจะติดแถบป้ายอิเล็กทรอนิสก์บนตัวผู้ที่ทำผิดซ้ำๆ และพวกเขาจะถูกนำตัวมาลงโทษตามกฎหมายอาญา
นายกรัฐมนตรีฟรองซัวส์ ฟิลยง เป็นผู้เสนอใช้กฎหมายนี้ และหากมาตรการนี้ได้ผล ก็อาจจะมีการประกาศใช้กฎหมายนี้ในประเทศยุโรปอื่นๆ รวมถึงอังกฤษด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ระบุว่า มาตรการดังกล่าวเป็นเพียง “กลเม็ดที่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง
ทั้งนี้ กฎหมายฉบับใหม่มีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้หญิงที่กำลังทนทุกข์กับการทำร้าย ประเภทนี้ นับตั้งแต่การวิจารณ์เรื่องหน้าตาที่ไม่ได้มีการลงไม้ลงมือ ไปจนถึงการคุกคามทางกาย
นายกรัฐมนตรีฟิลยงระบุว่า เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องลงมือทำอะไรบ้าง ดังเช่นมาตรการนี้ซึ่งจะช่วยให้ทุกฝ่ายจัดการกับสถานการณ์อันซ่อนเร้น ที่ไม่ได้มีรอยบาดแผลปล่อยไว้ให้เห็น แต่หลงเหลืออยู่ในจิตใจของคน
รัฐมนตรีฝรั่งเศสเสริมว่า รัฐบาลจะลองใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผ้าจับตาดูว่าคำสั่งห้ามทำร้ายคู่สมรสดังกล่าวว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ ไหนด้วย
ด้านนักจิตวิยา อานน์ ชีโรด์ ให้ความเห็นว่า การทะเลาะเบาะแว้งอาจจะทำให้กล่าวร้ายซึ่งกันและกันได้ทุกรูปแบบ แต่มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นอย่างที่ด่าว่ากันจริงๆ ก็ได้ ตำรวจอาจจะต้องถูกเรียกมาบ่อยมากขั้นๆ เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ในปีนี้ แต่บ่อยครั้งจะเป็นแค่กรณีจากคำพูดของบุคคลหนึ่งต่อคนหนึ่งเพียงเท่านั้น
“ความใช้รุนแรงทางจิตใจ” เป็นเรื่องที่เราต้องจริงจัง แต่การลงโทษมันผ่านกระบวนการทางศาลก็เป็นอีกเรื่องด้วย”
ชีโรด์ กล่าว
นักวิจารณ์ยังชี้ว่า รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปทรกแซงการทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว ที่ไม่ได้ทำให้ใครได้รับบาดเจ็บด้วย
โดยปิแยร์ บอนเนต์ นักสังคมวิทยา กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปคือจะต้องทำให้ “ความหยาบคาย” กลายเป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น ตำรวจและศาลจะมีงานล้น เพราะต้องพยายามจัดการกับคดีที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย
เมื่อปีที่แล้ว สถานีโทรทัศน์ในประเทศฝรั่งเศสพยายามรณรงค์ให้เห็นปัญหาความรุนแรงภายในบ้าน มาก โดยชี้ว่า สามีที่ด่าทอภรรยาบ่อยๆ จะทำให้ภรรยาของตัวเองเจ็บปวดใจ เมื่อปี 2008 มีผู้หญิงในฝรั่งเศส 157 คน ถูกสามีหรือแฟนฆ่า ขณะที่กว่าร้อยถูกทำร้ายร่างกายภายในบ้าน
ทั้งนี้ โฆษกของของนายกรัฐมนตรีฟิลยงระบุว่า กฏหมายฉบับใหม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และจะนำมาบังคับใช้ภายใน 6 เดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น