วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำแนะนำ สำหรับการระวังตัว ใน Facebook, Twitter

แม้พลเมืองไซเบอร์จะพยายามใช้ความระมัดระวังสูงสุดยามท่องเว็บสังคมออนไลน์ แต่กระนั้นปัญหาการ "ขโมยสถานะ" (Identity Theft) เพื่อนำไปประกอบอาชญากรรม หรือนำไปทำลายล้างกัน ก็ยังไม่น่าจะหมดสิ้นไปง่ายๆ


ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำเตือนหลากหลายในอินเตอร์เน็ต เตือนให้ผู้ใช้อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อคนประสงค์ร้ายเหล่านี้

อาทิ ในกรณีเว็บดังเฟซบุ๊ก (Facebook.com) กลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่เข้าไปข้องแวะ คือ

1. พวกที่มีรูปในเว็บของตนเองเพียงรูปเดียว หรือไม่กี่รูป และมีขนาดเล็ก

2. ถึงจะมีรูปเยอะ แต่ไม่เคยใส่รูปตัวเอง

3. ถ้าอ้างว่าเคยเป็นเพื่อนเก่า ควรบอกรายละเอียดเก่าๆ สมัยเรียนได้เช่นกัน

4. บุคคลที่เข้ามาติดต่อ กล้าบอกหมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมล์ ให้นำไปตรวจสอบหรือไม่

เมื่อเจอคนกลุ่มนี้สัญนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่น่าไว้ใจ และไม่ควรรับ "แอด" เป็นเพื่อน

ส่วนในกรณีเว็บไซต์ทวิตเตอร์ (Twitter.com) มีคำแนะนำเบื้องต้น ว่า

1. ถ้าเป็นทวิตเตอร์จำพวกโฆษณาขยะ หรือคนแปลกหน้าที่เข้ามามองหาเหยื่อ จะเขียนข้อความแปลกๆ หรือบางครั้งฟังดูดีเกินความเป็นจริง

2. "ลิงก์" ในหน้าทวิตเตอร์ของผู้ประสงค์ร้ายจะมีจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อล่อหลอกให้เหยื่อคลิ๊กเข้าไปยังเว็บเป้าหมายนั่นเอง

3. ถ้าไม่มั่นใจว่า ทวิตเตอร์ที่เข้ามาติดตามเราเขียนโดย "เจ้าของตัวจริง" หรือไม่ ให้ยกเลิกการติดตามไปก่อน

ถ้าบุคคลที่ถูกยกเลิกไป มีความประสงค์อยากติดต่อเราจริงๆ จะต้องไปหาวิธีการอื่นๆ มาแจ้งให้ทราบในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น: