วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รู้ไหม? “ผิวหนัง” ฟังเสียงได้!!



นอกจากน้ำเสียงและท่าทางแล้ว นักนักวิจัยแคนาดายังพบว่า ประสาทสัมผัสทางผิวหนังยังเป็นอีกปัจจัยในการฟัง โดยอากาศจากคำพูดนั้น ช่วยกำหนดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า คำพูดที่ส่งมานั้นคืออะไร ผู้เชี่ยวชาญชี้การค้นพบนี้อาจช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาในการฟังได้

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สีหน้าของผู้พูดนั้นมีผลต่อความเข้าใจของผู้ฟังด้วย แต่การศึกษาล่าสุดของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia) ในแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) นั้นได้พยายามหาคำตอบว่า ประสาทสัมผัสมีผลต่อสิ่งที่ได้ยินอย่างไรบ้าง

บีบีซีนิวส์ระบุว่า ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบเสียงของคำที่ถูกพูดออกมาพร้อมกับลมปากเล็กๆ ซึ่งไม่อาจได้ยินได้ อย่างเช่นคำว่า “พา” (pa) และ “ทา” (ta) กับ คำว่า “บา” (ba) และ “ดา” (da) โดยอาสาสมัครจะได้รับสัมผัสของคำดังกล่าว ที่หลังมือหรือลำคอ กับฟังเสียงเดียวกันโดยไม่ได้รับสัมผัสลมปาก

ทีมวิจัยพบว่า เสียง “บา” และ “ดา” ซึ่งทราบกันว่าเป็นคำที่ไม่พ่นลมปากออกมาด้วยนั้น ผู้ฟังแยกแยะได้เช่นเดียวเสียงที่ต้องพ่นลมปากอย่าง “พา” และ “ทา” โดยผู้ฟังต้องได้รับสัมผัสจากคำพูดควบคู่ด้วย ซึ่งการค้นพบนี้ชี้ว่าคนเรานั้นใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัส ควบคู่ไปกับสัญญาณทางสีหน้าเพื่อถอดรหัสคำพูดที่ออกมา

สำหรับความรู้ ซึ่งเพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องเสียงนี้ ทีมวิจัยกล่าวว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความช่วยเหลือด้านการสื่อสารแก่ ผู้ที่มีการได้ยินบกพร่อง โดย ดร.ไบรอัน กิค (Dr.Bryan Gick) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่าทีมวิจัยของเขานั้น ได้พัฒนาความช่วยเหลือด้านการได้ยินซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่เพิ่งค้นพบ

“ทั้ง หมดที่เราต้องการคือเครื่องอุปกรณ์อัดลม ที่สามารถผลิตลมปากไปที่คอในจังหวะเวลาที่เหมาะสม โดยทำงานขึ้นกับสิ่งที่ใส่เข้าไปในอุปกรณ์ช่วยฟัง จากนั้นก็เป็นชุดการทดลองเพื่อทดสอบความแม่นยำ” ดร.กิคกล่าว

ด้าน ดร.ราฟ โฮล์ม (Dr Ralph Holme) ผู้อำนวยการการวิจัยชีวเวชศาสตร์ของมูลนิธิคนหูหนวกและการได้ยินบกพร่องแห่ง อังกฤษ (The Royal National Institute for Deaf People: RNID) ให้ความเห็นกับทางบีบีซีนิวส์ว่า เป็นที่ทราบกันดีถึงการอ่านท่าทางบนใบหน้า อย่างการอ่านริมปาก นั้นช่วยให้คนที่สูญเสียการได้ยินนั้นฟังเข้าใจได้

อย่าง ไรก็ดีพยัญชนะภาษาอังกฤษอย่าง b กับ p และ t กับ d นั้น มีรูปแบบริมปากที่เหมือนกัน ซึ่งความเป็นไปได้ว่าลมปากที่สัมผัสผิวหนังจะช่วยให้คนฟังจำแนกความแตกต่าง ได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างมาก และหากมีงานวิจัยมากกว่าที่แสดงให้เห็นผลอย่างเดียวกัน เมื่อฟังการสนทนาประจำวันในชีวิตจริง ก็จะช่วยพัฒนาความช่วยเหลือในการได้ยินมากขึ้น”

ส่วน ดร.เดบอราห์ เจมส์ (Dr.Deborah James) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษาเรื่องเด็กและครอบครัว จากหน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (National Biomedical Research Unit in Hearing) ด้านการได้ยินนั้น กล่าวว่า เสียงที่สัมพันธ์กับลมเบาที่พ่นออกมานั้น จะช่วยให้เด็กๆ แยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงเริ่มต้นและลงท้ายของคำได้

“เรากำลังสำรวจการพัฒนาแรกสุดในการรับรู้การพูดด้วยเสียงและภาพ สำหรับเด็กที่เป็นทารกซึ่งมีความยากลำบากในการฟัง หรือบางทีเราอาจจะลองหาคำตอบว่าเด็กทารกตอบสนองต่อลมปากตามธรรมชาติที่พ่อ -แม่ทำขึ้นมาเมื่ออยู่ใกล้ชิดลูกระหว่างการสนทนาแรกๆ ของช่วงวัย” ดร.เจมส์กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: